
รายละเอียดโครงการ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันโครงสร้างประชากรของประเทศมีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มประชากรวัยทำงานน้อยลงประชากรเด็กและประชากรสูงอายุมากขึ้นส่งผลให้ประชากรวัยทำงานต้องรับหน้าที่ในการดูแลผู้พึ่งพิง (ประชากรเด็กและประชากรสูงอายุ) มากขึ้น โดยในปี 2553 มีผู้ต้องพึ่งพิงถึง 48 คน ต่อวัยแรงงาน 100 คน และในอีก 15 ปีข้างหน้าจะมีผู้ต้องพึ่งพิงเพิ่มขึ้นเป็น 60 คนต่อวัยแรงงาน 100 คน ซึ่งหากประชากรในวัยทำงานเจ็บป่วยหรือมีปัญหาสุขภาพจนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ตามปกติแล้ว จะส่งผลกระทบไม่เฉพาะต่อบุคคล แต่ยังกระทบต่อครอบครัว สังคม และประเทศชาติอีกด้วย จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าปัญหาด้านโรคจากการประกอบอาชีพ 3 อันดับแรกคือ โรคกระดูกและกล้ามเนื้อพบอัตราป่วย 166.77 ต่อแสนคน ประสาทหูเสื่อมจากเสียงดังพบอัตราป่วย 79.91 ต่อแสนคน โรคจากพิษโลหะหนักพบอัตราป่วย 0.57 ต่อแสนคน และที่สำคัญประชากรวัยทำงานใช้ชีวิตในสถานที่ทำงาน 1 ใน 3 ของชีวิตประจำวัน หากสถานที่ทำงานไม่ได้รับการจัดการที่ดีไม่เอื้อต่อการสร้างสุขภาพที่ดีแล้วก็อาจส่งผลวัยทำงานเกิดพฤติกรรมสุขภาพที่มีความเสี่ยงจนเกิดเป็นโรคติดต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานได้
หากสถานที่ทำงานไม่ได้รับการจัดการที่ดีไม่เอื้อต่อการสร้างสุขภาพที่ดีแล้วก็อาจส่งผลวัยทำงานเกิดพฤติกรรมสุขภาพที่มีความเสี่ยงจนเกิดเป็นโรคติดต่อโรคไม่ติดต่อเรื้อรังหรือโรคที่เกี่ยวเนื่องจากการทำงานได้โดยจากข้อมูลสภาวะสุขภาพของคนไทยในช่วงปี 2552 - 2557 พบว่ากลุ่มอายุ 18 ปีขึ้นไป พบความชุกของโรคความดันโลหิตสูง เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 21.4 เป็นร้อยละ 24.7 ความชุกของโรคเบาหวาน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 6.9 เป็นร้อยละ 8.9 ความชุกของภาวะอ้วน เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.7 เป็นร้อยละ 37.5 และที่สำคัญยังพบแนวโน้มการเกิดความเครียดและการฆ่าตัวตายสำเร็จในกลุ่มประชากรวัยทำงานเพิ่มสูงขึ้นในทุกปีด้วย
กระทรวงสาธารณสุข โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้ความสำคัญกับวัยทำงาน จึงมอบหมายให้กรมควบคุมโรค บูรณาการการดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายที่สำคัญจากกรมอนามัย กรมสุขภาพจิต จัดทำและขับเคลื่อนโครงการสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข ภายใต้นโยบายลดโรค เพิ่มสุข
ตั้งแต่ปีงบประมาณ2555เป็นต้นมาโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ประชากรวัยทำงานมีสุขภาพดีลดการเจ็บป่วยจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรคจากการประกอบอาชีพโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุขของพื้นที่รวมทั้ง เกิดความปลอดภัยในการทำงานและมีสุขภาพจิตที่ดีดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์กรมควบคุมโรคร่วมกับภาคีเครือข่ายที่สำคัญจึงได้จัดทำเกณฑ์การพัฒนาและแนวทางการดำเนินงาน
“สถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข”โดยยึดกรอบแนวคิด Healthy Workplace ของ WHO และ มาตรฐานระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย (TIS18001 และ OHSAS18001) เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและดำเนินการผ่านเครือข่ายสาธารณสุขทั้งในระดับเขตและจังหวัดทั่วประเทศให้สถานประกอบการที่เข้าร่วมโครงการนั้นเป็นสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข และเพื่อส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงานมีสุขภาวะที่ดีเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ
และในยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลงไปกรมควบคุมโรคโดยกองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการอบรมทีมผู้ประเมินสถานประกอบการปลอดโรค ปลอดภัย กายใจเป็นสุข ให้อยู่ในรูปแบบออนไลน์ โดยสามารถเข้ารับการอบรมได้ทุกที่ ทุกเวลา อย่างต่อเนื่องและครอบคลุมทุกจังหวัดตลอดจนทีมผู้ประเมินฯ มีองค์ความรู้ความเข้าใจในบทบาทหน้าที่มีคุณลักษณะและคุณสมบัติที่เหมาะสมเป็นไปในทิศทางเดียวกันและเกิดทักษะในการตรวจประเมินโดยใช้กระบวนการสื่อมัลติมีเดียที่มีประสิทธิภาพและทันสมัยเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน
